วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

สาริกาลิ้นทอง

สาริกาลิ้นทอง ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลมาจนถึงปัจจุบัน สาริกาลิ้นทอง ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทางด้านเสน่ห์เมตตามหานิยม โชคลาภ หากผู้ใดมีไว้สักการะบูชา ย่อมก่อเกิดความเป็นสิริมงคล ทั้งแก่ตนเองและครอบครัว ช่วยให้ค้าขายดี บังเกิดโชคลาภ เงินทองไม่ขาดมือ ตลอดจนมีแต่คนรักใคร่เมตตา เจรจามีแต่คนเชื่อถือ แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวงบังเกิดแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งในขณะทำพิธีปลุกเสกนั้น บารมีของสาริกาลิ้นทอง จะลงมาอยู่ในตัวจริงหรือไม่จริงนั้น ในขณะเข้าพิธีทุกท่านจะมีปฏิกิริยาอาการต่างๆ แสดงออกมาเหมือนดังในภาพที่นำมาแสดง เมื่อลงจนเต็มแล้วก็จะมีเสียงคล้ายนกหรือเวทย์มนต์คาถา ออกมาจากปากของตนเองได้ และถ้าหากผู้ใดมีสิ่งต่างๆที่ไม่ดี สิงสู่อยู่ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นคุณไสย์คุณผีคุณของใดๆ หรือมีวิญญานเจ้ากรรมนายเวรอะไรอยู่ ก็จะแสดงออกมาให้ทราบ หรือถูกขับไล่ออกมาทันทีในขณะเข้าพิธี ในขณะที่ทุกท่านเข้าประกอบพิธีอยู่นี้ท่านก็จะยังคงมีความรู้สึกตัว และมีสติอยู่ตลอดเวลา เหมือนขณะที่ยังไม่เข้าพิธีทุกประการ เพียงแต่ฝืนปฏิกิริยาอาการต่างๆที่เกิดไม่ได้เท่านั้นเอง จนกว่าจะเสร็จพิธีจึงไม่มีสิ่งใดที่น่ากลัว เพราะมิใช่การทรงเจ้าหรือการสะกดจิตใดๆทั้งสิ้น หากแต่เป็นวิชาภาวนาธรรม อาจารย์ฉัตรชัยท่านจะเน้นสอนแต่ในเรื่องบุญบาป เรื่องเวรกรรม คาถาสาริกาลิ้นทอง พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต (ใช้สวดภาวนาหากต้องการให้คนรักใคร่ พูดจาเป็นเสน่ห์ ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง) ประวัติคาถา และความเป็นมาของ พระคาถา: คาถา ความหมายของคำว่า “คาถา”และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ประวัติ คาถา และความเป็นมาของ พระคาถา การใช้ "คาถา" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจาก การสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 3(ตติยสังคายนา) แล้ว พระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดียเริ่มร่วงโรยลง และต่อมาได้ย้ายไปประดิษฐานในลังกา ศาสนาพุทธกับพราหมณ์ในอินเดียสมัยนั้นได้ผสมผสาน กันมา จนเกิดมีลัทธิพุทธตันตระ (ลัทธิพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับการใช้คาถา-อาคมพระคาถา)เกิดขึ้นอีกลัทธิหนึ่ง ศาสนาพราหมณ์ในขณะนั้น มีความมั่นคงเลื่อมใส ในลัทธิไสยศาสตร์มาก มีการใช้เวทมนตร์"คาถา"เป่าพ่นปลุกเสกและลงเลขยันต์ ประกอบ อาถรรพณ์ต่างๆแม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ใช่ว่าจะปฏิเสธเสียทีเดียว เพราะ พระพุทธศาสนาเองก็ยังมีคุณอัศจรรย์ ที่จัดเป็น ปาฏิหาริย์ไว้ 2 อย่าง คือ 1. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนที่เป็นอัศจรรย์ 2. อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์ที่เป็นอัศจรรย์ถึงกับ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกย่อง พระโมคคัลลานะ เถระไว้เป็น ยอดของพระภิกษุที่ทรงอิทธิฤทธิ์หากแต่พระองค์ไม่ทรงยกย่องอิทธิปาฏิหาริย์เท่ากับอนุสาสนีปาฏิหาริย์ การใช้เวทมนตร์คาถานั้น ผลสำเร็จ จะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ดวงจิตสำรวมเป็นสมาธิ และสมาธินี้ท่านจัดบนฐาน แห่ง วิปัสสนาญาณถึงแม้หาก ว่าปุถุชนเราจะบรรลุได้อย่างสูงไม่เกินฌานสมาบัติก็ตามกระนั้นก็สามารถที่จะแสดง อิทธิฤทธิ์ ได้ตามภูมิของตน เช่น พระเทวทัตต์หนแรกที่เธอได้รูปฌาน เธอก็ยังสามารถบิดเบือน แปลงกายกระทำอวด ให้อชาตศัตรูกุมารหลงใหลเลื่อมใสได้ ส่วนอารมณ์ของรูปฌานนั้น ท่านใช้กสิณบ้างใช้คาถาบริกรรมบ้าง สุดแต่นิสัยของผู้บำเพ็ญปฏิบัติ โดยเฉพาะ ที่ใช้คาถาบริกรรมนั้น ผู้บริกรรม จะรู้ถึงเนื้อความของคาถาที่บริกรรมนั้น หรือไม่ก็ตามนั่นมิใช่สิ่ง ที่เป็นปัญหาที่สำคัญเพราะความมุ่งหมายต้องการแต่จะให้สมาธิเท่านั้น เพื่อผลในทางอิทธิปาฏิหาริย์ที่ตนมุ่งหวังปรารถนา พระคาถาและการทำสมาธิแบบนี้ ได้เจริญ แพร่หลาย มากขึ้น ได้เกิดมีคณาจารย์มุ่งสั่งสอนเวทมนตร์กัน และได้ดัดแปลงแก้ไขวิธีการทางไสยศาสตร์ ของพราหมณ์มาใช้ โดยคัดตัดตอนเอาเนื้อมนต์ของพราหมณ์นั้นออกเสีย บรรจุพระพุทธมนต์ แทรกเข้าไปแทน เพราะมาคิดเห็นกันว่ามนต์พราหมณ์ยังเรืองอานุภาพถึงอย่างนี้ ถ้าหากว่า เป็นพุทธมนต์ คงจะยิ่งกว่าเป็นแน่ ฉะนั้นในการใช้เวทมนตร์คาถาที่พวกเราพุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันทุกวันนี้ จึงล้วนแล้วแต่เป็นพระพุทธมนต์ที่ท่าน โบราณาจารย์ดัดแปลง แก้ไขเลียนแบบอย่างวิธีทางลัทธิไสยศาสตร์เดิมมาเท่านั้นหาใช่เป็นลัทธิไสยศาสตร์ ของพราหมณ์ดังที่บางท่านเข้าใจกันไม่ การรวบรวมคัมภีร์พระเวทพระคาถา อย่างจริงจังเกิดขึ้นในสมัย เจ้าพระคุณพระมงคลราชมุนี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ แต่เมื่อครั้ง ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศรีสัจจญาณมุนีอยู่นั้นพระคุณท่านเป็น ผู้สนใจในศาสตร์ ประเภทนี้อยู่มาก จึงได้พยายามรวบรวมขึ้นไว้จากสรรพตำราต่างๆ ส่วนมากเป็นของ สมเด็จ พระสังฆราช (แพ) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ของท่าน อันได้รับสืบต่อมาจาก สมเด็จพระวันรัต (แดง) ท่านได้ตั้ง ปณิธานที่จะให้วิชาเหล่านี้ได้เผยแพร่ต่อไปเพราะเกรงว่าจะสาบสูญเสียหมด ในการรวบรวมคัมภีร์พระเวท พระคาถาเหล่านี้ข้อความบางแห่งพอ ที่จะมี ต้นฉบับสอบทาน ก็ได้จัดการ สอบทานแก้ไข ให้ถูกต้อง ตามต้นฉบับเดิม ซึ่งได้คัดลอกสืบต่อกันมา แต่ก็ยังมีอักขระพระคาถา เนื้อมนต์นั้นบางทีก็มีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง สำหรับบทที่หาต้นฉบับ สอบทานไม่ได้ ก็คงไว้ ตามรูปเดิม ซึ่งถ้าหากได้ผ่านสายตาท่าน ผู้รู้ทั้งหลายก็ได้โปรด กรุณา แก้ไขต่อเติมเสีย ให้ครบถ้วน เพื่อจะได้เป็นตำราที่ถูกต้องบริบูรณ์ ดุจต้นฉบับ ของเดิมเพื่อเป็นการเทิดทูน วิทยาการอันประเสริฐ รวมทั้งได้ดำรงคงอยู่เป็นแนวศึกษาของชั้นหลังสืบต่อไป คาถา รวมพระคาถา ความหมายของคำว่า “คาถา” พระคาถา และวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบันการใช้ "คาถา" ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต ในนี้จะมีบท คาถาต่างๆ ทั้ง คาถาชินบัญชร คาถาทางเมตตามหานิยม คาถาทางคงกระพันชาตรี คาถาแคล้วคลาด คาถาแผ่ส่วนกุศล คาถาแผ่เมตตา คาถากันของไม่ดี หัวใจพระคาถาต่างๆ คาถาบูชาเทพเจ้า คาถาบูชาพระพุทธรูปต่างๆ ซึ่งคาถาต่างๆเป็นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ สมัยก่อนคนจะใช้คาถาต่างๆได้สัมฤทธิผลกันมากเนื่องจากมีความเชื่อความศรัทธาและสัจจะเป็นสำคัญ ส่วนการท่องหรือตัวอักษรอักขระการออกเสียงต่างๆ อาจจะมีแตกต่างกันไปบ้าง ส่วนสำคัญอยู่ที่ความมั่นใจและตั้งมั่นมากกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆแค่ บทสวดมนต์ต่างๆการออกเสียงในส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน ก็ต่างกันแล้ว แต่ทำไมถึงมีความศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันละ ก็เพราะความตั้งมั่น ไม่สงสัยในครูบาอาจารย์ที่อบรมสั่งสอนมา คาถาใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเราจะต้องท่องให้จำได้ ก็จะต้องทำใจให้บริสุทธิ์ อาบน้ำชำระล้างสิ่งโสโครกให้สะอาดเสียก่อน แล้วก็นำดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ แล้วก็ระลึกเป็นการขอพรบารมี ให้ท่องได้ง่ายจำได้แม่น แล้วก็กราบตำรานั้น 3 ครั้ง ต่อจากนั้นก็เปิดขึ้นมาท่องจำ หนังสือนั้นอย่าเหยียบอย่าข้าม อย่านั่งทับหรือนอนทับ ขณะท่องอย่านอนหลับให้หนังสือทับคาอก จะทำให้ปัญญาเสื่อม เมื่อจะท่องหรือจะใช้พระคาถาใด ๆ ทุก ๆ พระคาถา จะต้องตั้ง นะโม 3 จบก่อน นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ความหมายของคำว่า“คาถา” แต่คาถาและวิชาอาคมในความหมายของคนปัจจุบัน ยังมีนัยอีกหลายประการนัยแรกตรงกับความหมายของพระเวท ใช้อ้อนวอนเซ่นสรวงบูชาและขอพรอำนาจแม้แต่การเชื่อว่าเป็นรหัสที่ได้รับจาก เทพเจ้าเป็นพิชอักขระมีความหมายในตัวเองต้องท่องบ่นให้ถูกต้องทุกคำ ห้ามแก้ไขการเรียนควรเรียนจากปากเพื่อรักษาสำเนียงโบราณไว้ ซึ่งทำให้คาถาเพี้ยนอยู่ทุกวันนี้นัยที่สองเป็นสิ่งลึกลับ มีอำนาจและมีตัวตน ใช้ได้เหมือนเครื่องมือสำเร็จรูปคาถาเมตตาบริกรรมภาวนาแล้วเมตตา คาถาทรหดบริกรรมภาวนาแล้วอยู่คงคาถาทั้งปวงมีอาถรรพณ์ เรียนแล้วไม่เจริญ มีพลังสร้างโทษแก่ผู้ใช้ได้สามารถสูบตัวตนของอาคมได้ คล้ายกับตำนานอสูรสูบพระเวทของพระพรหมตอนหลับแผลงฤทธิ์วุ่นวายจนพระนารายณ์ ต้องอวตารไปปราบ เกิดเป็นคำว่าอาคมเข้าตัว (เข้าหัวใจเข้าสมอง) เป็นที่เกรงกลัวกันมากสำหรับคนเรียนคาถายุคใหม่ สับสนกับคำว่าของถ้าเข้าตัวแล้วจะทำให้อายุสั้น บ้าใบ้วิกลจริต ตาบอดฉิบหายตายโหง คล้ายกับผิดครู ซึ่งโบราณนั้นต้องการให้อาคมเข้าตัวอย่างที่สุดก่อนทำการใดๆ ท่านให้เรียกอาคม เรียกอักขระเข้าตัวก่อนเรียนวิชาต้องเรียนจนกว่าอาคมเข้าหนัง เนื้อ และกระดูกไม่มีใครเลยที่กลัวอาคมเข้าตัว แต่กลัวผิดครูถ้าใช้คาถาแล้วฉิบหายตายโหงทันตาแสดงว่าผู้เรียนนั้นใช้คาถา ไปในทางเลวอย่างแน่นอนเพราะกรรมไม่ใช่เพราะตัวอาคม การเรียกอาคมเข้าตัวนี้สนับสนุนว่า อาคม หมายถึงวิชาความรู้ แต่การสูบอาคมหรือคัดทิ้งแท้จริงเป็นการสูบปราณหรือลดพลังปราณคุ้มครองตัว ของฝ่ายตรงข้ามการจะทำได้ต้องมีปราณที่แข็งแกร่งทัดเทียมกันเป็นอย่างน้อย (ให้ศึกษาบทความเรื่องจิตและกายทิพย์) การให้โทษต่อสุขภาพร่างกายของปราณอย่างที่เรียกว่าอาคมเข้าตัวนั้นเกิดจาก การที่ปราณแตกกระจายหรือถูกกระแทกโดยปราณของผู้อื่นอย่างรุนแรงการกระทำ ย่ำยี การคัดของก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ แรกเริ่มของการเรียนไสยศาสตร์ทั่วไปจะได้รับคาถาไหว้ครูบทไม่ยาวนักเพื่อ ฝึกความจำ จากนั้นจะได้รับคาถายาวขึ้น จนกระทั่งถึงโองการและแม่บทคัมภีร์ต่างๆ เมื่อเข้าใจเรื่องการใช้ภูต ปราณ และจิต อย่างคล่องแคล่วแล้วคาถาไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่อาจจะมีความเคยชินว่าในการใช้พลังจิตต้องมีคาถาบูรพาจารย์มักยกคาถา สั้นๆมาใช้ ดังคำว่าสูงสุดคืนสู่สามัญจากกระบวนท่าเป็นไร้กระบวนท่า คาถาที่ได้รับตอนแรกเรียนเช่น พุทโธ นะมะพะทะนะโมพุทธายะ ฯลฯจึงเป็นคาถาที่บูรพาจารย์นำกลับมาใช้แสดงฤทธิ์จนเลื่องลือถึงทุกวันนี้ เคยพบหลายท่านที่คล่องแคล่วในการวางอารมณ์และถ่ายปราณไม่ได้ใช้คาถาใดในการ แสดงวิชาเลย เมื่อเข้าใจว่าการใช้คาถาเป็นองค์ภาวนาเพื่อสร้างกระแสจิต ในตนสร้างความเชื่อมั่น และโน้มน้าวจิตตามวัตถุประสงค์ เราจะพบเห็นการแปลงคาถา เช่นสวาหะ แปลงเป็นสวาหาย สวาหับ สวาโหม ฯลฯ การนำคำพ้องเสียงมาใช้โดยไม่สนใจความหมายเช่น อุทธังอัทโธ แปลว่า เบื้องล่างเบื้องบน นำมาใช้ในวิชามหาอุด เป็นต้นดังนั้นหลักใหญ่ของการใช้คาถาคือความสม่ำเสมอของอารมณ์ในขณะนั้น( ไม่ใช่ความนิ่งไร้อารมณ์)ความเชื่อมั่นไร้ความลังเลสงสัยในกระแสทั้งสามและอำนาจของกระแสจิตในตนคาถาทั้งปวงจะขลังหรือไม่ขึ้นอยู่กับอุปาทานข้อนี้ และ ๑.อำนาจสัจจะ๒.อำนาจคุณพระและ ๓.อำนาจเคราะห์กรรม (พึงศึกษาบทความเรื่องคุณพระต่อไป)การใช้คาถาทั้งปวงเมื่อเข้าถึงคุณพระได้ ย่อมเกิดอานุภาพความยาวและความยากของภาษาที่ใช้มีผลต่อการเข้าถึงคุณพระพอ สมควรดังนั้นควรเลือกบทที่ชอบ จิตเกาะได้ดี อารมณ์สม่ำเสมอ หรือเกิดปีติ ********************** อาถรรพณ์เวท

ไม่มีความคิดเห็น: